WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม 2567 ติดต่อเรา
อีไอซี..ประเมินรถยนต์ไฟฟ้า…พลิกโฉมวงการรถยนต์ไทยคาดอย่างต่ำ 10 ปีถึงจะนิ่ง!!!

26 สิงหาคม 2559 : รถยนต์ไฟฟ้าเป็น disruptive technology ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ด้วยขนาดของตลาดที่จำกัด ราคาที่สูง และความไม่พร้อมในโครงสร้างพื้นฐาน จึงยังไม่สามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าเพื่อดึงดูดผู้บริโภค (value proposition) ได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับ disruptive technology อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือกล้องดิจิตอล

Economic Intelligence Center (EIC)อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มองว่าแม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้ายังต้องใช้เวลากว่า 10 ปีจึงจะตีตลาดรถยนต์ไทยได้ แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต้องไม่นิ่งนอนใจ โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด ต้องเร่งพิจารณาหาโอกาสจากอุตสาหกรรมอื่นที่สอดคล้องกับจุดแข็งในธุรกิจของตน เพื่อกระจายความเสี่ยงหากตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเกิดในไทยเร็วกว่าที่คาด

รถยนต์ไฟฟ้าเป็น disruptive technology ของรถยนต์แห่งอนาคตที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะต่อไป เพราะการที่ disruptive technology จะเติบโตขึ้นได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยทางด้านตลาด (social) ราคา (economics) และโครงสร้างพื้นฐาน (politics) ทั้งนี้ แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมีการผลิตและจำหน่ายมาแล้วกว่า 10 ปี แต่ด้วยราคาที่ยังสูงมาก เนื่องจากต้นทุนของแบตเตอรี่ที่ยังไม่สามารถพัฒนาให้ต่ำกว่า 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าจึงยังไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปได้ โดยในปี 2015 ยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่า 1% ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก

Presentation1

อีไอซีจึงมองว่ายังไม่เพียงพอต่อการดึงดูดและสร้างความเชื่อมั่นว่าจะเกิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ได้ อย่างไรก็ดี ด้วยรถยนต์เป็นสินค้าที่มีราคาสูง จึงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อและเมื่อรวมถึงการพิจารณาถึงต้นทุนในการปรับเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่น (switching cost) จากข้อกังวลในความเหมาะสมต่อลักษณะการใช้งานในไทย ความปลอดภัยในเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ และความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเข้าไป จึงเป็นการยากที่จะสร้าง value proposition เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ในปัจจุบันได้ในปริมาณมาก (massive scale)

อีไอซีแนะผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ไม่ควรวิตกแต่ต้องไม่นิ่งนอนใจ ควรจะพิจารณาจุดแข็งของธุรกิจและหาโอกาสในอุตสาหกรรมอื่น เช่น การรับผลิตชิ้นส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (Manufacturing-Related Services2) ที่มีความถนัด รวมไปถึงการหาพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในธุรกิจหากตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด ดังกรณีของ Kodak ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าหากผู้ผลิตกลัวว่านวัตกรรมของตนจะแย่งตลาดกันเองอาจส่งผลให้บริษัทสูญเสียโอกาสอันมหาศาลและกระทบต่อ supply chain ในเวลาต่อมา

สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือผู้สนใจ รวมถึง start-up ที่มีความพร้อมในเทคโนโลยีชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าควรหาโอกาสจากทั้งในและต่างประเทศ เช่น ใช้โอกาสจากโครงการสนับสนุนจากภาครัฐ และโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงทุนในธุรกิจการผลิต หรือโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

รถยนต์ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP