WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม 2568 ติดต่อเรา
กรุงศรี วางเป้าหมายขยายสินเชื่อเกี่ยวกับธุรกิจญุี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทยปี 2568 เติบโต 9%

26 มิถุนายน 2568 : นายบุนเซอิ โอคุณโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า ธนาคารฯได้วางเป้าหมายสินเชื่อเกี่ยวกับธุรกิจญุี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทยปี 2568 เติบโตที่ระดับ 9% ซึ่งเติบโตกว่าช่วงปีที่ผ่านที่สินเขื่อรวมกลุ่มดังกล่าวเตืบโตไม่ถึง 9% จากปัจจัยลบด้านหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันยอดการผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นรวมถึงยอดขายรถญี่ปุ่นช่วงปี 2567 ลดลงค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวในปีนี้ มั่นใจเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ระดับ 9%ได้แน่นอน จากการปรับกลยุทธ์เชิงรุกในการปล่อยสินเชื่อที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งการดึงฐานลูกค้าจากสถาบันการเงินอื่นด้วยแผนการตลาดที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าดีที่สุด โดยเฉพาะการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังมีช่องว่างในการปล่อยสินเชื่ออีกจำนวนมาก ทำให้ธนาคารมั่นใจการเติบโตของสิ้นเชื่อกลุ่มธุรกิจญี่ปุ่นในปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวในปัจจุบันคิดเป็น 10-12% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารฯ ที่สำคัญธนาคารฯเป็นเบอร์หนึ่งที่ลูกค้าเลือกฝากเงินมากที่สุด

นายบุนเซอิ กล่าวว่า เพื่อการตอกย้ำความเป็นผู้นำ ธนาคารพันธมิตรที่กลุ่มธุรกิจญี่ปุ่นไว้วางใจ กลยุทธ์การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์ เกี่ยวกับญี่ปุ่นปี 2558 เน้นการต่อยอดพันธกิจในการสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม เร่งขับเคลื่อนการลงทุนจากญี่ปุ่นสู่ประเทศไทยและอาเขียนผ่านเวที Japan-ASEAN Startup Business Matching Fair 2025 มุ่งผลักดันอุตสาหกรรมหลักใหม่ที่มีศักยภาพสูง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทาง เศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค

“กรุงศรีมุ่งสนับสนุนธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทยให้ก้าวสู่การเติบโตอย่าง ยั่งยืน ด้วยพันธกิจในการเป็นธนาคารพันธมิตรที่ไม่เพียงให้การสนับสนุนด้านการเงินเท่านั้น แต่จะต้องสร้าง ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในทุกมิติทั้งทางธุรกิจและสังคม และด้วย ผลิตภัณฑ์และบริการที่ครบวงจร ความเชี่ยวชาญในประเทศ พร้อมด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ MUFG เราจึง สามารถนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งของธุรกิจญี่ปุ่น ครอบคลุมถึงพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ในทุกภาคส่วน จนสามารถครองใจกลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นครอบ คลุมกว่า 70% ของธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทย”นายบุนเซอิ กล่าว

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2568 ธนาคารจะมุ่งเน้นการต่อยอดความสำเร็จจากปีก่อน รวมถึงขยายมิติของการเติบโตที่ยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนการลงทุนใหม่จากญี่ปุ่นสู่ประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์  ‘Co-creating New Core Industries’ โดยกรุงศรีจะร่วมมือกับลูกค้าและภาครัฐในการผลักดันนวัตกรรมและโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมหลักใหม่ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เศรษฐกิจในอนาคตของไทย ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

1.ขยายความร่วมมือกับภาครัฐ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายศักยภาพสูง กรุงศรีติดตามแนวโน้มสำคัญในภาคการเงินและการลงทุนอย่างใกล้ชิด โดยในปี 2567 ได้จัดสัมมนา “Data Center: Opportunities in Thailand” เพื่อส่งเสริมศักยภาพของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านดาต้าเซนเตอร์ สำหรับปี 2568 กรุงศรีมุ่งเน้นการคว้าโอกาสใหม่ ขับเคลื่อนนวัตกรรม พร้อมขยายบทบาทในอุตสาหกรรมหลักใหม่ที่มีศักยภาพสูง อาทิ ชีวภัณฑ์เพื่อการเกษตร (Bio Green) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) เทคโนโลยีการผลิตอาหาร (Food Technology) และ การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

ทั้งนี้ หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการสานต่อความสำเร็จของงาน Japan-ASEAN Startup Business Matching Fair เวทีจับคู่ธุรกิจ สตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่มุ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพได้พบปะเจรจาธุรกิจเพื่อต่อยอดการเติบโตในภูมิภาคอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกรุงศรี หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจชั้นนำจาก 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยมีสตาร์ทอัพดาวรุ่งจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจกว่า 54 รายเข้าร่วมงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองอย่างเทคโนโลยี AI ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ และอุตสาหกรรมเกมและแอนิเมชันที่มีศักยภาพในการเป็นซอฟท์พาวเวอร์สำคัญของภูมิภาค สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์

นอกจากนั้น ภายในยังนำเสนอเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยพิบัติจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเตรียมพร้อม และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในระยะยาว โดยการจัดงานดังกล่าวสามารถสร้างโอกาสในการจับคู่ธุรกิจมากกว่า 400 คู่ภายในวันเดียว และในงานนี้ กรุงศรียังได้ลงนามความร่วมมือกับ Industrial Technology Investment Corporation เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพจากไต้หวันสู่ตลาดสากลอีกด้วย

2.เสริมสร้างศักยภาพธุรกิจผ่านโซลูชันทางการเงินและนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามกรอบ ESG โดยในปีที่ผ่านมา กรุงศรี ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อความยั่งยืนเป็นแห่งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าในหลายอุตสาหกรรมได้แก่ โตโยต้า ลีสซิ่ง เอจีซี วีนิไทย และโซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี รวมถึงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อสังคมแก่ โตโยต้า ลีสซิ่ง เพื่อช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาโซลูชันที่สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนด้านอื่น ๆ และในปี 2568 กรุงศรียังคงเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ผ่านความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ กระตุ้นความตระหนักรู้ และผลักดันสู่แนวปฏิบัติที่ยั่งยืน

3.ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจปัจจุบัน โดยในปีที่ผ่านมา กรุงศรีเดินหน้าขยายบทบาทในอาเซียนผ่านบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK และประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงธุรกิจไทยกับธนาคารพันธมิตรทั้ง VietinBank ในเวียดนาม Danamon Bank ในอินโดนีเซีย และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงเครือข่ายและโซลูชันทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อีกไฮไลต์สำคัญคือการจัดงาน Krungsri ASEAN LINK Forum ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าธุรกิจและผู้ประกอบการกว่า 200 ราย ตอกย้ำศักยภาพของกรุงศรี MUFG และพันธมิตรในการช่วยขยายโอกาสธุรกิจในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ ในปี 2568 กรุงศรียังคงมุ่งมั่นสู่การเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซียน” ผ่านโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ และช่วยผลักดันการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน 

 

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP