WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม 2567 ติดต่อเรา
Phatra Smart Minimum Volatility การลงทุนรูปแบบใหม่ลดความเสี่ยง

15 มีนาคม 2559 -บลจ. ภัทร เตรียมส่งกองทุน Phatra Smart Minimum Volatility กองทุนรวมหุ้นไทยกองแรก ที่ใช้กลยุทธ์ลดความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมตอบรับการลงทุนท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ต่อยอดเงินลงทุนให้เติบโตในระยะยาว
Yuthapol Laplamool_1
นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ. ภัทร) เปิดเผยว่า กองทุน Phatra Smart Minimum Volatility เป็นกองทุนประเภทตราสารแห่งทุนซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

โดยกองทุนจะพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยง หรือลดความผันผวนของการลงทุนโดยรวมของกองทุน ภายใต้แนวคิดการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน (Portfolio ของกองทุน) จะมีเป้าหมายให้ความผันผวนที่คาด (expected volatility) ของ Portfolio อยู่ในระดับต่ำที่สุด ซึ่งการคาดการณ์ความผันผวนอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด และการคาดการณ์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในขณะที่สร้างPortfolio เช่นการกระจายการลงทุนสภาพคล่องของหลักทรัพย์รายตัวอัตราการเติบโตของรายได้หรือกำไรของบริษัทอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นต้น

กองทุน Phatra Smart Minimum Volatility เป็นกองทุนที่นำเอากลยุทธการลงทุนแบบ Smart Beta ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลกเข้ามาปรับใช้ โดยเป็นการผสมผสานกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุกและกลยุทธ์การลงทุนเชิงรับเข้ามาไว้ด้วยกันมุ่งเน้นผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงกว่าตลาดหุ้นและเป็นการนำข้อดีของการลงทุนเชิงรับในด้านการลงทุนที่เป็นระบบช่วยลดต้นทุน และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนมาผนวกรวมกับข้อดีของการลงทุนเชิงรุกที่มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีชี้วัดที่คำนวณโดยใช้มูลค่าตลาดเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง

กองทุนนี้คาดว่าจะเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่16-22 มีนาคม2559 ด้วยมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาทขั้นต่ำการลงทุนที่ 5,000บาท โดยกองทุนอาจมีการจ่ายเงินปันผล จากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกำไรสะสม หรือมีกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น

ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลจะพิจารณาจ่ายในอัตราไม่เกินร้อยละ100 ของกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลตามที่บริษัทจัดการพิจารณาเห็นสมควร

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP